ความรู้เพิ่มเติมและที่ควรทราบ
- ทุนจดทะเบียน ควรจดขั้นต่ำ 1 ล้านบาท แต่อาจเรียกชำระเพียง 25% ของทุนที่จดทะเบียน ( คือ 250,000 บาท ) เพื่อลดปัญหาในเรื่องของข้อจำกัดเกี่ยวกับเงินทุนที่นำมาลง และภาษีที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับภาษีของบริษัทภายหลังการจดทะเบียน
- ค่าธรรมเนียม สำหรับทุนจดทะเบียน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จะเรียกเก็บในอัตราคงที่
- การถือหุ้นโดยคนต่างชาติหรือบริษัทต่างชาติ ในกรณีที่มีการลงทุนต่ำกว่า 50% หรือมีชาวต่างชาติร่วมเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคนต้องแสดงแหล่งที่มาของเงินทุนที่ออกโดยธนาคาร ( อ้างถึง คำสั่ง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เลขที่ 205/5555 )
- รอบบัญชี เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา โดยส่วนใหญ่บริษัททั่วไปจะกำหนดรอบบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม ซึ่งจะง่ายต่อการจดจำ กำหนดการทางภาษีและการยื่นงบการเงิน อย่างไรก็ตามท่านสามารถเลือกรอบบัญชีได้เองแต่ต้องไม่เกิน 365 วัน หากจำเป็นต้องเลือกเป็นรอบอื่น ( นอกจาก 31 ธันวาคม ) ท่านควรกำหนดวันสิ้นรอบเป็นวันสิ้นเดือนเพื่อให้ง่ายต่อการจัดทำบัญชีและการนำยื่นภาษีต่างๆ
ขั้นตอนการปฏิบัติงานของเรา
- พนักงานจดทะเบียนของสำนักงานฯ จะแจ้งให้ท่านทราบถึงเอกสาร หลักฐานต่างๆ ที่ท่านต้องจัดเตรียมเพื่อใช้ในการดำเนินการจดทะเบียน และจะมีพนักงานไปรับเอกสารจากท่าน หรือท่านอาจจะนำมาส่งมอบที่ทำการสำนักงานฯ ก็ได้ ( เอกสารบางอย่างต้องใช้ต้นฉบับ )
- ทางสำนักงานฯ จะจัดพิมพ์แบบฟอร์มต่างๆ ที่ต้องใช้ในการจดนิติกรรมจัดส่งให้ท่านและผู้เกี่ยวข้องพิจารณาลงนามก่อนนำไปยื่นจดทะเบียนต่อส่วนราชาการที่เกี่ยวข้องต่อไป
- ท่านจะได้รับเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ดำเนินการแล้วภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้น
เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียนบริษัท
- ชื่อบริษัทที่ต้องการจดทะเบียนเป็นชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 1-3 ชื่อ เรียงลำดับตามความต้องการจาก 1 ถึง 3
- สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ พร้อมรับรองสำเนา
- สำเนาบัตรประชาชนของหุ้นส่วน พร้อมรับรองสำเนาและให้กรรมการรับรองสำเนาของหุ้นส่วนด้วย
- สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนเจ้าบ้าน สำหรับสถานที่จดทะเบียนบริษัท
- แผนที่ตั้งบริษัท
- แบบตรายางของบริษัท เพื่อให้ทางสำนักงานจัดทำตรายางให้
เอกสารที่ต้องการสำหรับ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจ
- สำเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ไม่เกิน 3 เดือน
- สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
- สำเนาใบสำคัญแสดงรายการจดทะเบียนบริษัท
- หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ
- สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน ถ้ากรรมสิทธิ์ในอาคารเป็นของนิติบุคคลต้องนำหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลและสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจแนบมาด้วย
- แผนที่ตั้งบริษัท
- รูปถ่ายสถานประกอบการ 2 ชุด (ถ่ายให้เห็นชื่อบริษัทและเลขที่บ้านสถานประกอบการอย่างชัดเจนพร้อมรับรองสำเนา)
- ตราประทับบริษัท
ข้อมูลเพิ่มเติม การจดทะเบียนบริษัทจำกัด
บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
โครงสร้างของ “บริษัทจำกัด”
- ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน
- แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
- มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
- ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ
- ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัด
ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
- ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วไปจดทะเบียน
- เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้เข้าชื่อจองหุ้นจนครบ
- ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
- เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
- กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น ( ทุนของบริษัทจะแบ่งเป็นกี่หุ้นก็ได้แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท )
- เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท
- ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภายในวันเดียวก็ได้
- จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
- ประชุมจัดตั้งบริษัท เพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น
- ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท
- กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่าหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่าหรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได้ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนได้ชำระเงินค่าหุ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว.